1. โปรโตคอล HTTP หรือ Hypertext Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
2. โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transfer Control Protocol/Internet Protocolคือเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบเครือข่าย Internet รวมทั้ง Intranet ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรโตคอลคือ TCP และ IP
3. โปรโตคอล SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol คือ โปรโตคอล ที่ใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นอกจากโปรโตคอลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโปรโตคอลต่างๆอีกมากมาย เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอลชื่อ FTPหรือ File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP หรือ Network News Transfer Protocol และยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก โปรโตคอลนี้มีชอว่า ICMP หรือ Internet Control Message Protocolเป็นต้น
ข้อมูลจาก
http://www.mindphp.com/
การสื่อสารข้อมูลเละเครือข่าย
วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559
ประโยชน์ของ Protocol
ประโยชน์ของ Protocol มีอะไรบ้าง
ประโยชน์หลักๆของ Protocol นั้นก็คือการทำให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันได้โดยไม่สนใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะเป็นเครื่องรุ่นเดียวกันหรือเปล่า หรือจะมีระบบเดียวกันหรือเปล่า Protocol เป็นเหมือนกับสื่อการในการรับส่งข้อมูลที่จะคอยแจ้งให้ทราบเมื่อมีการส่งข้อมูล และการรับข้อมูล ทั้งตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง
ประโยชน์หลักๆของ Protocol นั้นก็คือการทำให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันได้โดยไม่สนใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะเป็นเครื่องรุ่นเดียวกันหรือเปล่า หรือจะมีระบบเดียวกันหรือเปล่า Protocol เป็นเหมือนกับสื่อการในการรับส่งข้อมูลที่จะคอยแจ้งให้ทราบเมื่อมีการส่งข้อมูล และการรับข้อมูล ทั้งตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง
ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่า Protocol จะมีหลายประเภทก็ตามแต่หน้าที่หลักของโปรโตคอลก็คือเป็นตัวเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเข้าด้วยกัน ซึ่ง Protocol ทุกประเภทต่างมีความสำคัญไม่ต่างกัน เพราะโปรโตคอลแต่ละประเภทจะช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ง่ายและสะดวกขึ้นนั้นเอง
ประเภทของ Protocol คืออะไร
Protocol มีกี่ประเภท
Protocol มีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกันแต่ที่เห็นและใช้งานกันบ่อยและมีความสำคัญก็มีอยู่ไม่กี่ประเภท
1. Protocol HTTP หรือ Hypertext Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเราจะพบเห็นได้ทุกครั้งที่เราเว็บไซต์ เวลาเราเข้าเว็บไซต์เราจะพิมพ์ http:// ส่วนนี้เองที่เรียกว่า Protocol HTTP
2. Protocol TCP/IP หรือ Transfer Control Protocol/Internet Protocolคือเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด เพราะว่าเป็น Protocol ที่ใช้ในระบบเครือข่ายอย่างอินเตอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้แยกออกได้มาเป็น โปรโตคอลTCPและโปรโตคอล IP
3. Protocol SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง E – mail ในระบบอินเตอร์เน็ต
4. Protocol FTP หรือ File Transfer Protocol คือโปรโตคอลที่ใช้ในการการโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน จะใช้งานบ่อยในการอัพโหลดไฟล์ขึ้น Server
5. Protocol NNP หรือ Network News Transfer Protocol คือโปรโตคอลในการโอนย้ายข่าวสารระหว่างกัน
6. Protocol ICMP หรือ Internet Control Message Protocol คือโปรโตคอลที่ใช้ในการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
7. Protocol POP3 (Post Office Protocol 3) คือโปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยมุ่งเน้นให้ในการอ่านอีเมล์แบบOffline โดยให้ผู้ใช้โหลดอีเมลมาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
8. Protocol DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol)คือโปรโตคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่าย-ลูกข่าย
9. Protocol IMAP (Internet Message Access Protocol)คือโปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยมุ่งเน้นให้ในการอ่านอีเมล์แบบ Online ซึ่งแตกต่างจาก Protocol POP3 ที่มุ่งเน้นในการอ่านอีเมล์แบบOffline
Protocol มีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกันแต่ที่เห็นและใช้งานกันบ่อยและมีความสำคัญก็มีอยู่ไม่กี่ประเภท
1. Protocol HTTP หรือ Hypertext Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเราจะพบเห็นได้ทุกครั้งที่เราเว็บไซต์ เวลาเราเข้าเว็บไซต์เราจะพิมพ์ http:// ส่วนนี้เองที่เรียกว่า Protocol HTTP
2. Protocol TCP/IP หรือ Transfer Control Protocol/Internet Protocolคือเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด เพราะว่าเป็น Protocol ที่ใช้ในระบบเครือข่ายอย่างอินเตอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้แยกออกได้มาเป็น โปรโตคอลTCPและโปรโตคอล IP
3. Protocol SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง E – mail ในระบบอินเตอร์เน็ต
4. Protocol FTP หรือ File Transfer Protocol คือโปรโตคอลที่ใช้ในการการโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน จะใช้งานบ่อยในการอัพโหลดไฟล์ขึ้น Server
5. Protocol NNP หรือ Network News Transfer Protocol คือโปรโตคอลในการโอนย้ายข่าวสารระหว่างกัน
6. Protocol ICMP หรือ Internet Control Message Protocol คือโปรโตคอลที่ใช้ในการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
7. Protocol POP3 (Post Office Protocol 3) คือโปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยมุ่งเน้นให้ในการอ่านอีเมล์แบบOffline โดยให้ผู้ใช้โหลดอีเมลมาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
8. Protocol DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol)คือโปรโตคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่าย-ลูกข่าย
9. Protocol IMAP (Internet Message Access Protocol)คือโปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยมุ่งเน้นให้ในการอ่านอีเมล์แบบ Online ซึ่งแตกต่างจาก Protocol POP3 ที่มุ่งเน้นในการอ่านอีเมล์แบบOffline
โปรโตคอล คือ
โปรโตคอลคืออะไร
ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talk
โปรโตคอล IPX/SPX
ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Novell ซึ่งทำการพัฒนามาจากตัวโปรโตคอล XNS ของบริษัท Xerox Corporation ซึ่งโครงสร้างเมื่อทำการเปรียบเทียบ
กับ OSI Model ดังรูป
ตัวโปรโตคอล IPX/SPXแบ่งออกเป็น 2 โปรโตคอลหลักคือ Internetwork Packet Exchange ( IPX) และ Sequenced Packet Exchange (SPX) โดยโปรโตคอล IPX ทำหน้าที่ในระดับ network layer ตามาตรฐาน OSI Model มีกลไกการส่งผ่านข้อมูลแบบ connectionless,unrerelibleหมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อมูล โดยไม่ต้องทำการสถาปนาการเชื่อมต่อกันระหว่าง host กับเครื่องที่ติดต่อกันอย่างถาวร ( host , เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการใดๆในเครือข่าย ) และไม่ต้องการรอสัญญานยืนยันการรับข้อมูลจากปลายทาง โดยตัวโปรโตคอลจะพยายามส่งข้อมูลนั้นไปยังปลายทางให้ดีที่สุด สำหรับโปรโตคอล SPX ทำหน้าที่ในระดับ transport layer ตามมาตรฐาน OSI Model โดยส่งผ่านข้อมูลตรงข้ามกับโปรโตคอล IPXคือ ต้องมีการทำการสถาปนาการเชื่อมโยงกันก่อนและมีการส่งผ่านข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้วยการตรวจสอบสัญญาณยืนยันการรับส่งข้อมูลจากปลายทาง
โปรโตคอล NetBEUI
โปรโตคอล NetBEUI หรือ NetBIOS Enhanced User Interface นั้น เป็นโปรโตคอลที่ไม่มี ส่วนในการระบุเส้นทางส่งผ่านข้อมูล (Non-routable Protocol)โดยจะใช้วิธีการ Broadcast ข้อมูลออกไปในเครือข่าย และหากใครเป็นผู้รับที่ถูกต้องก็จะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผล ข้อจำกัดของโปรโตคอลประเภทนี้ก็คือไม่สามารถทำการ Broadcast ข้อมูลข้ามไปยัง Physical Segment อื่นๆที่ไม่ใช่ Segment เดียวกันได้ เป็นการแบ่งส่วนของเครือข่ายออกจากกันทางกายภาพ หากต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายถึงกันจะต้องใช้อุปกรณ์อย่างเช่น Router มาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครือข่าย
เนื่องมาจากอุปกรณ์บางอย่างเช่น Router ไม่สามารถจะ Broadcast ข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่นๆได้ เพราะถ้าหากยอมให้ทำเช่นนั้นได้ จะทำให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายคับคั่งไปด้วยข้อมูลที่เกิดจากการ Broadcast จนเครือข่ายต่างๆไม่สามารถที่จะสื่อสารกันต่อไปได้ โปรโตคอล NetBEUI จึงเหมาะที่จะใช้งานบนเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 50 เครื่องเท่านั้น NetBEUI เป็นหนึ่งในสองทางเลือกสำหรับผู้ใช้งาน NetBIOS ( Network Basic Input Output System ) ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งบนโปรโตคอล TCP/IP และ NetBUEI
โปรโตคอล AppleTalk
จุดเริ่มต้นของโปรโตคอล AppleTalk เกิดขึ้นในปีค.ศ.1983 ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัท Apple Computer ต้องการออกแบบชุดโปรโตคอลสื่อสารข้อมูลของตนเองขึ้น เพื่อใช้เชื่อมโยงเครือข่ายของเครื่องแบบแมคอินทอช และสามารแชร์กับอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังขยายไปสู่การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์,เครื่องพิมพ์, Gateway และ Router ของผู้ผลิตรายอื่นๆด้วยต่อจากนั้นเครื่องแมคอินทอชและอุปกรณ์ต่างๆที่บริษัทผลิตออกมาก็ได้มีการเพิ่มส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้สามารถรองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้ รวมถึงระบบปฏิบัติการ MacOS รุ่นใหม่ๆก็ได้มีการผนวกฟังก์ชั่นให้รองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้เช่นกัน ทำให้กลุ่มผู้ใช้เครื่องแมคอินทอชสามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายได้ง่ายโดยไม่ต้องไปหาซื้อ อุปกรณ์เพิ่มเติมอีก
โปรโตคอล Apple Talk ถูกออกแบบมาให้ทำงานเป็นเครือข่ายในแบบ peer-to-peer ซึ่งถือว่าเครื่องทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถเป็นเซิร์ฟเวอร์ได้ทุกเครื่องโดยไมต้องจัดให้บางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการโดยเฉพาะขึ้นมา ต่อมาปีค.ศ. 1989 ได้มีการพัฒนาโปรโตคอล AppleTalk ให้สนับสนุนเครือข่ายที่ใหญ่มากขึ้นได้ สามารถมีเครื่องลูกข่ายและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายได้มากกว่าเดิมเรียกว่าเป็นโปรโตคอล Apple Talk Phase 2 นอกจากนี้ยังเพิ่มโปรโตคอลที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ Ethernet และ Token Ring ได้ โดยเรียกว่า EtherTalk และ TokenTalk ตามลำดับ
โปรโตคอลTCP/IP ( RFC1180 )
โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเทอร์เนท/อินทราเนท ความจริงแล้วโปรโตคอล TCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอลหลายตัวที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งานโดยมีคำเต็มว่าTransmission Control Protocol /Internet Protocol ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีโปรโตคอลประกอบกันทำงาน 2 ตัว คือ TCP และ IP
ตัวอย่างของกลุ่มโปรโตคอลในชุดของ TCP/IP ที่เราพบและใช้งานบ่อยๆ ( ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้งานโดยตรง แต่จะใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆหรือทำงานโดยอ้อม เช่น Internet Protocol,Address Resolution Protocol(ARP) ,Internet Control Message Protocol (ICMP) ,User Datagram Protocol (UDP) ,Transprot Control Protocol (TCP) และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP)
โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เนทคือ Internet Protocol (โปรโตคอล IP) เนื่องจากเมื่อโปรโตคอลอื่นๆต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเทอร์เนทนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง ผ่าน Gateway หรือ
Router เพื่อนำข้อมูลไปยังเครือข่ายและเครื่องปลายทางที่ถูกต้อง เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทางจะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้นและด้วยเหตุนี้เราจึงเรียก ว่าเป็นโปรโตคอลที่มีความสามารถในการระบุเส้นทางการส่งผ่านของข้อมูลได้(Routable)
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถสื่อสารกันได้จำต้องมีการระบุแอดเดรสที่ไม่ซ้ำกัน เพราะไม่เช่นนั้นข้อมูลที่ส่งอาจจะไม่ถึงปลายทางได้ ซึ่งแอดเดรสจะมีข้อกำหนดมาตรฐาน ซึ่งในการใช้งานโปรโตคอล TCP/IP ที่เชื่อมโยงเครือข่ายนี้ จะเรียกว่า IP Address ( Internet Protocol Address )
ข้อมูลจาก
http://wich246.tripod.com/protocol.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)